สถานที่ติดต่อ
- สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถ.มิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร
- สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- ทางเว็บไซต์ wp.doe.go.th
แบบที่ใช้สำหรับยื่นคำขอการอนุญาตทำงาน
ตท.1 การขอรับใบอนุญาตทำงาน คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้ามือง (NON-IMMIGRANT) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน (TOURIST/TRANSIT)
ตท.3 การขอรับใบอนุญาตทำงาน นายจ้างยื่นคำขอในขณะที่คนต่างด้าวยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานได้แล้วจัดส่งให้คนต่างด้าวนำไปประกอบการขอวีซ่า NON - IMMIGRANT ณ สถานทูตไทยในต่างประเทศโดยคนต่างด้าวต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมยื่นเอกสารตามที่กำหนดภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายจ้างรับหนังสือแจ้งผลฯ
ตท.4 การขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน กรณีใบอนุญาตทำงานเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือสูญหายโดยให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือเสียหาย
ตท.5 การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน โดยต้องยื่นขยายการอยู่ต่อในราชอาณาจักร (VISA) แล้วจึงยื่นแบบคำขอก่อนสิ้นอายุการอนุญาตทำงาน
ตท.6 การขออนุญาตเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน สถานที่ และท้องที่ในการทำงาน
ตท.10 การแจ้งเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต กรณีมีการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของ
- คนต่างด้าว : ชื่อ - นามสกุล สัญชาติ ลายมือชื่อ และที่อยู่อาศัย
- สถานประกอบการ : สถานที่ตั้งตามประกาศของทางราชการ และเพิ่มประเภทธุรกิจ
ระยะเวลาดำเนินการ กำหนดแล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
- คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT) ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือ ผู้เดินทางผ่าน (TOURIST/TRANSIT)
- ต้องไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามเงื่อนไข ดังนี้
- มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
- ต้องไม่ทำงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ดังนี้
- งานกรรมกร
- งานกสกรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญเฉพาะสาขา หรืองานควบคุมดูแลฟาร์ม
- งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- งานแกะสลักไม้
- งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
- งานขายของหน้าร้าน
- งานขายทอดตลาด
- งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้นงานตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว
- งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
- งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยี่อไม้ไผ่
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานทำเครื่องเงิน
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานทำเครื่องถม
- งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
- งานทำบาตร
- งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
- งานทำพระพุทธรูป
- งานทำมีด
- งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
- งานทำรองเท้า
- งานทำหมวก
- งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนใจธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
- งานในวิชาชีพวิศกรรม สาขาวิศกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบวิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
- งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
- งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
- งานมวนบุหรีด้วยมือ
- งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
- งานเร่ขายสินค้า
- งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
- งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
- งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
- งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคต
หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงาน
- ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
- โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
- ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือการพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน
การกำหนดจำนวนการออกใบอนุญาตทำงาน
- นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่าสองล้านบาท โดยทุกๆ 2 ล้านบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน /หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคลในต่างประเทศและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของ การลงทุนจากเงินที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท โดยทุกๆสามล้านบาทให้อนุญาตได้หนึ่งคน เว้นแต่คนต่างด้าวมีคู่สมรสเป็นคนไทย ซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายขนาดของการลงทุนลดลงกึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ ให้อนุญาตได้ไม่เกิน 10 คน /หรือ
- นายจ้างที่มีขนาดการลงทุนจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท หรือนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคล ในต่างประเทษและเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีขนาดของการลงทุนจากเงินที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้พิจารณาออกใบอนุญาตทำงานตามความจำเป็นและเหมาะสม
- ดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าไปต่างประเทศและนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทขึ้นไปในปีที่ผ่านมา
- ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งนำชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไม่น้อยกว่า 5,000 คน ในรอบปีที่ผ่านมา
- สถานประกอบการมีการจ้างคนไทยไม่น้อยกว่า 100 คน
- ใช้เทคโนโลยีซึ่งคนไทยยังทำไม่ได้ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ โดยให้มีการถ่ายทอดให้แก่คนไทยอย่างน้อยสองคนภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะทางเพื่อให้งานสำเร็จภายใต้โครงการที่มีระยะเวลาที่แน่นอน
- กิจการบันเทิง มหรสพ ดนตรี ซึ่งมีลักษญะการจ้างงานเป็นครั้งคราวมีระยะเวลากำหนดไว้แน่นอน /หรือ
- นายจ้างที่เป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การหมาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน หรือคนต่างด้าวตามที่มีหนังสือรับรองจากหน่วยงานดังกล่าว /หรือ
- นายจ้างเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ หรือเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม /หรือ
- อื่นๆ ตามที่กำหนดในระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2552
หมายเหตุ
พิจารณารายได้ขั้นต่ำของคนต่างด้าวตามตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติฯ ประกอบด้วย
อายุของใบอนุญาตทำงาน
อนุญาตให้ทำงานได้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอ แต่ไม่เกิน 2 ปี/ครั้ง