ค่านายหน้าซื้อขายที่ดิน
ค่านายหน้าที่เราชี้ช่องขายที่ดินหรือบ้านให้สำเร็จ คิดค่านายหน้าตามเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงิน ที่ซื้อขายกันทั้งหมดหรือของยอดขายตามกฎหมายกำหนดไว้สูงสุด เราขายได้มากกว่าหรือเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดให้เราขายให้ ( โดยกำหนดไว้แน่นอนว่าที่ดิน ตารางวาขายเท่าไร เราขายให้ผู้ซื้อมากกว่าหรือเกินกว่าราคาที่ตั้งไว้ ) เราสงวนสิทธิ์ได้รับส่วน ที่เราบอกขายเกินตามราคาที่ผู้ขายจะขาย เราขายเกินกว่าราคาที่ฝากขาย ( เช่นตั้งราคาไว้ ตารางวาละ 10,000 บาท เราขายได้ 12,000 บาท ส่วนเกิน 2,000 บาทเป็นของเรา ) ส่วนเกินเท่าไรต้องตกเป็นของเรา ผู้ขายต้องทำสัญญาจ่ายค่านายหน้ากับเรา ตกลงตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ผู้ฝากเราขายที่ดินต้องทำสัญญากับเรา ว่าภายในกำหนดเท่านั้นเท่านี้ ผู้ขายไม่ขายให้ผู้อื่น ให้ เราเป็นตัวแทน ( นายหน้า ) ขายให้ หากผู้ฝากขายขายให้ผู้อื่น( ไม่ว่าผู้ใด ) ภายในกำหนด เวลาที่ตกลงกัน ผู้ฝากขายจะต้องจ่ายค่านายหน้าให้เรา และขายเกินกว่าราคาที่ฝากเราขาย เงินขายได้เกินเท่าไรต้องตกเป็นของเราตามสัญญา ผู้ขายเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษีอากรต่างๆ และภาษีธุรกิจเฉพาะ( ถ้ามี ) หรือ แล้วแต่ตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออก หากไม่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ออกทั้งหมด ผู้ขายที่ดินจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยทางเราจะเป็นผู้ทำสัญญาให้หลักฐานที่จะต้องนำไปติดต่อทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน
เมื่อท่านมีความประสงค์จะไปติดต่อกับสำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอ เพื่อขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ซื้อขาย ขายฝาก ให้จำนอง ฯลฯ พนักงานที่จะต้องสอบสวนถึงสิทธิ ความสามารถของบุคคลรวมตลอดถึงความสมบูรณ์แห่งนิติกรรมและเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและคู่กรณีประกอบการพิจารณา หลักฐานต่างๆ ดังกล่าวจึงมีส่วนสำคัญที่จะให้การดำเนินงานจดทะเบียนช้าหรือรวดเร็วได้ เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วให้แก่ประชาชนผู้มีความประสงค์จะมาขอจดทะเบียน หรือขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน กรมที่ดินจึงได้จัดทำคำแนะนำประชาชนในการเตรียมหลักฐานต่างๆ เพื่อไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอขึ้นแล้วแต่กรณี จังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอขึ้นแล้วแต่กรณี
การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มักจะมีคู่กรณี 2 ฝ่าย ส่วนการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เช่น ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นเรื่องที่ฝ่ายผู้ขอดำเนินการฝ่ายเดียว ฉะนั้นหลักฐานที่จะนำไปประกอบการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ ตามฐานะของคู่กรณีอันได้แก่ "ผู้โอน" ฝ่ายหนึ่ง "ผู้รับโอน" อีกฝ่ายหนึ่งดังนี้
ผู้โอน หมายถึง ผู้ถือกรรมสิทธิในที่ดินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นๆ ซึ่งมีความประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ในที่ดินไปยังบุคคลอื่นซึ่งเรียกว่า ผู้รับโอน สำหรับกรณีนี้มีหลักทั่วๆไป เกี่ยวกับหลักฐานที่จะนำไปประกอบการโอนไม่ว่าจะโอน ในประเภทใดๆ เช่น ในฐานะผู้ขาย ผู้ให้ ฯลฯ จะต้องนำหลักฐานเหล่านี้ไปประกอบการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ คือ
- บุคคลธรรมดา
- โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์
- บัตรประจำตัว
- ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ให้นำหลักฐานไปแสดงด้วย
- หนังสือแสดงความยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส ในกรณีขาดจากการสมรสโดยหย่า ต้องมีหลักฐานการหย่า
- สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ ( ถ้ามี )
- ถ้าไม่ไปดำเนินการด้วยตัวเอง ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและต้องนำบัตรประจำตัวผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจไปด้วย
- การเขียนข้อความในหนังสือมอบอำนาจ ให้ปฏิบัติตามคำเตือนด้านหลังแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน
- นิติบุคคล
- โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลพร้อมตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนาม
- รายงานการประชุมของนิติบุคคล ในกรณีที่ต้องมี
- หนังสือบริคณห์สนธิ ตราสารจัดตั้ง หรือเอกสารการจัดตั้งนิติบุคคล นั้น
ผู้รับโอน ได้แก่ ผู้รับสัญญาจากผู้โอน เช่น ผู้ซื้อ ผู้รับให้ เป็นต้น
- บุคคลธรรมดา
- บุคคลสัญชาติไทย ขอซื้อที่ดินต้องนำหลักฐานดังนี้ คือ
- บัตรประจำตัว
- ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 ) ที่มีชื่อบุคคลในครอบครัวทุกคนถ้าผู้ซื้อทำการสมรสแล้ว และต่างถือภูมิลำเนาแยกกัน ให้นำทะเบียนบ้านของคู่สมรส ที่ปรากฏชื่อผู้อยู่อาศัยในทะเบียนบ้านนั้นทั้งหมดไปประกอบด้วย
- ในกรณีที่ย้ายภูมิลำเนามาหลายแห่ง ถ้าสามารถจะนำทะเบียนบ้านที่ย้ายออกไปแสดงได้ก็ให้นำไปด้วย
- ถ้ามีคู่สมรสที่เคยมีสัญชาติอื่นและได้อนุญาต ให้แปลงสัญชาติ คืนสัญชาติหรือถือสัญชาติตามคู่สมรสให้นำหลักฐานนั้นๆ แล้วแต่กรณีไปประกอบเช่นกัน
- ถ้าได้ทำการสมรสหรือหย่าแล้ว ให้นำทะเบียนนั้นๆไปแสดง
- ในกรณีที่มีคู่สมรส ต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสให้ทำนิติกรรม
- ถ้าได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการอนุญาตนั้น
- ถ้าผู้ซื้อยังไม่บรรลุนิติภาวะ และมีบิดา มารดา หรือบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวให้นำหลักฐานทางการศึกษา หลักฐานการประกอบอาชีพของบิดามารดา กับทั้งต้องมีพยานบุคคลอย่างน้อย 2 คนไปประกอบด้วย
- คนสัญชาติไทย ซึ่งได้หย่าหรือเลิกร้างกับคู่สมรสเดิมที่เป็นคนต่างด้าวแล้ว จะต้องนำหลักฐานตามที่กล่าวใน ข้อ 1 ไปประกอบด้วย ยังจะต้องมีหลักฐานเหล่านี้อีกคือ
- ทะเบียนหย่า หรือหลักแสดงว่าขาดจากการสมรส
- หลักฐานการประกอบอาชีพของผู้ซื้อ
- คนสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หลักฐานที่ต้องนำไป คือ
- หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย
- บัตรประจำตัว
- ทะเบียนบ้าน
- หนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
- นิติบุคคล
- บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
- เอกสารการก่อตั้งนิติบุคคล
- หนังสือสำคัญการให้อำนาจทำการแทนนิติบุคคล
- หนังสือบริคณห์สนธิ
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยอสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนที่นายทะเบียนพาณิชย์รับรองแล้วในปัจจุบัน
- บัตรประจำตัวของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล